ช่วงนี้ผมได้ยินคนบ่นกันบ่อยๆ ว่า /.... "Long ปุ้บ ร่วงปั้บ / Short ปุ้บ วิ่งขึ้นทันที / ถือไว้นานราคาไม่ไปไหน แต่พอออก ปิด Position เมื่อไหร่ วิ่งกระจายทันที " .... จุดนี้เป็นปัญหาที่หลายๆคนน่าจะเคยเจอ .... ด้วยความที่ผมเองทำผิดและพลาดซ้ำๆมาพอสมควร พอจะมีสิ่งที่จะเล่าจากการเรียนรู้จากรอยแผลบอบช้ำของตนเอง เท่าที่สังเกตุ ปัญหาต่างๆข้างต้น มักจะมาจาก :
.
-1. ปัญหาอยู่ที่สันดานคุณเอง ตลาดมันไม่ได้ดั่งใจทุกคน สัจธรรมโลกนี้อะไรๆ ก็มักไม่ได้ดั่งใจใครหลายคน ปัญหาก็คือว่า ทำไมการเทรดแต่ละไม้มันจะต้องได้ดั่งใจที่คุณคิดเสมอละ คนที่ชีวิตมัก ทนไม่ได้กับการที่อะไรอะไรมักไม่ได้ดั่งใจตนเอง (เช่น ขับรถ รถติด ก็หงุดหงิด / นัดแฟน แฟนมาช้า ก็หงุดหงิด ... อื่นๆ จิปาถะ) แนวโน้มก็มักจะหงุดหงิดมาก เวลาที่ขาดทุนจากการเทรด เป็นธรรมดา เพราะชีวิตที่ผ่านมามันดัน .. "ได้ดั่งใจ" .. มาตลอด / ในการเทรด ความหงุดหงิด ในหลายๆครั้ง จะมาในรูปแบบต่างๆ เช่น อาจจะพาลทุบคีบอร์ด / บางครั้งอาจจะมือหนักเข้าหนักกว่าเดิมกะเอาคืน / บางครั้งอาจจะมาในรูปของการยอมไม่คัทลอส หงุดหงิดจนยอมล้างพอร์ทไปกับตา / บางครั้งอาจจะมาในรูปของการพาลอารมณ์เสียไปที่คนรอบข้าง ----- ทางแก้ ต้องเข้าใจว่า อะไรๆในโลกนี้มักไม่มีอะไรได้ดั่งใจในชีวิต ต้องอยู่ให้ได้และเตรียมพร้อมรับ ...." ความไม่ได้ดั่งใจหลายๆอย่างในชีวิต " .... ทั้งในรูปของ Risk Exposure ในรูปของการยอมรับว่าตลาดเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และการจัดการอารมณ์ตนเอง เพื่อพัฒนา EQ ไปพร้อมๆกัน (ผมมักจะแนะนำให้ทำ Ego Management) หลายๆคนบอกว่าให้ลองฝึกสติ ... มุมมองส่วนตัว ผมเองคิดว่า สติ มันเป็นแค่ตัวช่วยเท่านั้น (เท่าที่รู้สึกและเป็นกับตนเอง) ... สิ่งที่ช่วยจริงๆมากกว่า คือ .... "ความเข้าใจใน ธรรมชาติของชีวิต และปัญหาต่างๆ" .... เพราะพอคุณเข้าใจว่า ... อ๋อ โลกเรา มันก็เป็นเช่นนี้แหละ ธรรมดาของชีวิต มันเป็นเช่นนั้นแหละ ปัญหาความเดือดร้อนใจมันเป็นอย่างนี้แหละ คุณก็จะวางมันลงได้เอง ... พอวางลงได้เอง อาการความรู้สึกไม่ได้ดั่งใจ มันก็จะไม่เกิดมาแต่ต้น เพราะเหตุคือ ความเข้าใจในความไม่แน่นอน ความเปลี่ยนแปลง มันเป็นสิ่งคู่เสมอกับชีวิตเรา ดังนั้นความหงุดหงิดจาก ไม่ได้ดั่งใจ ในสิ่งต่างๆในชีวิต (รวมไปถึงสิ่งต่างๆในตลาดการเก็งกำไร) ก็จะไม่เกิดขึ้นมาหรือมีแต่น้อยลง . แล้วตรงนี้ ผมว่าสติถึงค่อยมาช่วยเราประคองระหว่างทางการเทรดในภายหลัง แต่สิ่งที่น่าจะต้องมาก่อนคือ ความเข้าใจและการปล่อยวาง / ผมว่า ตรงนี้ คนที่มีประสบการณ์ชีวิตลำบากยากเข็ญมาก่อนจะได้เปรียบ คนที่ทำผิดพลาดในชีวิตมาเยอะ (แล้วต้องมาคิดได้ด้วย) . ยิ่งคนที่ต้องดิ้นรนต่อสู้มาแต่เด็กยิ่งจะเห็นตรงนี้ได้ชัด คนที่ชีวิตสบายมาก่อนไม่เคยลำบากมากก่อนอาจจะต้องมาพยายามมากหน่อย
.
-2. คุณอ่านตลาดผิดเอง ... ต้องเข้าใจอย่างนึงว่า ตลาดการเก็งกำไรเปลี่ยนแปลงรูปแบบไปตลอด ทฤษฏีเดิมๆ วิธีอันเดิม กลยุทธเดิมๆ ถ้ามันมีความ Curve-Fit กับตลาดมาก อายุขัยของวิธีนั้นๆ มักสั้นเป็นธรรมดา เหมือนลูกกุญแจที่เจียเหลี่ยมหยักจนเหมาะกับแม่กุญแจ ถ้าเปลี่ยนรอยหยักเมื่อไหร่ กุญแจนั้นก็ย่อมที่จะเริ่มใช้ไม่ได้ ต้องนำไปเจียเหลี่ยมกุญแจใหม่ บางครั้งหลายๆคน ออกตัวแรง คิดว่าที่เรียนมา ที่รู้มา ที่ประสบความสำเร็จมานั้นมันใช่แล้ว แน่แล้ว / วันนึงเมื่อปัจจัยสภาวะแวดล้อมตลาดเปลี่ยน สิ่งที่คุณเคยใช้อ่านตลาดได้ผล มันก็จะไม่ได้ผลอีกต่อไปหรืออาจจะมีประสิทธิผลที่ลดลง / การประเมิณ การวางแผน การคาดคะเน การคำนวน อะไรใดๆ ก็ตามแต่ในตลาดการลงทุนและเก็งกำไรแห่งนี้ ทุกอย่าง ออกหัวและก้อยได้เสมอ ที่น่าจะต้องเป็นก็คือ อย่ามั่นใจเกินไป มีแผนสอง แผนสาม รวมถึงการปรับปรุงแผน ถ้าแผน 1-2-3 ทั้งหมดที่คิดไว้ ปรากฏว่ามันผิดทาง และต้องเข้าใจว่าทฤษฏีใดๆ พอถึงวันหนึ่ง เมื่อมีการคิดค้นใหม่ ทฤษฏีเดิมๆก็มีเปลี่ยนแปลงไปได้ / อีกส่วน อาจจะเป็นจาก การที่คุณเรียนอะไรมาผิดไปแต่แรก บางครั้ง อาจจะต้องถามตนเองก่อนว่า ".... ที่เราเรียนมาที่เรารู้มา ตกลงมันใช่แน่เหรอ ความรู้อันนี้ถูกแน่เหรอ " .... หลายๆครั้งคำตอบมันจะมาจากการตั้งคำถามต่อวิธีการ ต่อทฤษฎีที่เรารู้มา ต่อสิ่งที่อยู่หัวสมองของเรา ว่ามันใช่แน่เหรอ โลกของความจริงกับในตำรา หลายๆครั้งมันไม่ไปด้วยกัน หลายๆที เราอาจจะต้องเขียนตำราเราเองขึ้นมาใหม่ จากการลองผิดถูกด้วยตนเองครับ ^^ / หรือบางทีมันจะมาในรูปของ การเรียนอะไรเยอะไป เสร็จแล้ว ผสมกันเอามาใช้ไม่ได้ ความรู้ที่มากเกินไปจนปนเปกระจัดกระจาย บางครั้งกลับเป็นผลเสียเช่นกันครับ เพราะเรียนรู้อาวุธทุกชนิด แต่ไม่รู้จะใช้อันไหนก่อนหลังดี บางครั้งอาวุธแต่ละอันดันขัดแย้งกันเสียด้วย ... คำพังเพยที่ว่า สิปปากว่าไม่เท่าตาเห็น สิบตาเห็นไม่เท่ามือทำ หรือ สิบรู้ไม่เท่าชำนาญ คำนี้ยังคงใช้ได้ดีในปัจจุบันเสมอๆ ครับ ^^
.
-3. คุณพาตนเองไปอยู่ท่ามกลางสงคราม .... ในหลายๆครั้ง เมื่อตลาดมีการรบกันรุนแรงระหว่าง ฝ่ายซื้อและฝ่ายขาย ถ้ากำลังฝ่ายใดยังไม่ชนะขาด การพาตนเองเข้าไปรบตะลุมบอนท่ามกลางสงครามระหว่างสองฝั่ง ก็มักเสี่ยงที่จะเจอกับสภาวะ ... " Long ปุ้บ ร่วงปั้บ / Short ปุ้บ วิ่งปั้บ " ... อยู่บ่อยๆ เพราะเราดันมาอยู่ตรงกลาง ให้ลองนึกถึงสามก้ก ทัพที่มักจะได้เปรียบมักจะยืนมองดูทัพอื่นๆ รบกันจนเสร็จ จนแน่ใจว่าจะมีฝ่ายใดเพลี่ยงพล้ำ เมื่อนั้นก็มักค่อยหาโอกาศซ้ำเติม / เข้าทำนอง มองอยู่บนภู ดูเสือกัดกัน / ถ้าเรารอความไม่แน่นอน ให้มความแน่นอนมากขึ้น ชัดขึ้น ความได้เปรียบย่อมเกิดมากกว่า การพาตนเองไปอยู่ตรงกลางระหว่างสงครามแน่นอนครับ
.
-4. คุณหายใจคล่อมจังหวะตลาด .... เคยสังเกตุมั้ยครับว่า ในการเทรด ตลาด ก็มีจังหวะหายใจเข้า-ออก .. มันมี Rhythm .. มันจะมีช่วง Rally - พัก - สะสมกำลัง - Rally - พัก ...... - วนไปเรื่อยๆ ทั้งในช่วงที่ตลาดมี Trend และแม้แต่ช่วงที่ตลาด ไม่มี Trend / หลายๆครั้ง คนที่เทรด อาจจะไม่ได้สังเกตุตรงนี้ จึงมักจะเข้าตลาดมาผิดช่วง / ผิดช่วงยังไม่พอ ... ดันใช้กลยุทธ์วิธีผิดกับช่วงนั้นๆอีก ผลคือ โดนก่อนไปหลายดอก . พอตอนที่จะถอดใจแล้ว ตลาดดันกลับมาเข้าช่วงพอดี / เข้าทำนอง ตอนตลาดหายใจเข้า เราหายใจออก พอตลาดหายใจออก เราหายใจเข้า (ตรงนี้บางที เป็นที่ดวงด้วยส่วนหนึ่ง ลองสังเกตุเพื่อนๆรอบข้างตนเองที่ ใครกำลังดวงซวยอยู่ดูครับ จะพบอาการที่ว่ามานี้ เช่น มักจะเข้ามาตลาดตอนคนอื่นกำลังจะออก .. พอเราจะออกเค้าจะเข้า .. พอเค้าเข้าตลาดร่วง พอเค้าถอดใจหรือไม่ว่างมีธุระวันนั้น ตลาดดันวิ่ง พอหุ้นตัวไหนเค้าบอกว่าดี ส่วนมากมักไม่ไป ... ตัวไหนเค้าทำท่าไม่สนใจตัวนั้นมักจะไป / ถ้าเจอก็ให้ลองทำตรงกันข้ามเค้าแบบเงียบๆนะครับ แล้วลองบันทึกดู ^^)
.
-5. คุณใส่ Risk/Per trade มากไป จนทำให้ทน Volatility ที่เปลี่ยนไปของตลาดไม่ไหว ..... ด้วยความที่บางคนอยากกำไรเร็ว ในหลายๆครั้งที่ใช้ Risk/Trade มาก ผลก็คือ จะรับการแกว่งได้น้อยลง (ถ้าจะคง %Risk ของพอร์ตที่เดิม) พอรับการแกว่งได้น้อยลง ในกรณีที่ตลาดไม่แกว่งมาก (Low Volatility) หลายครั้งมันก็ใช้ได้อยู่ แต่เมื่อใดที่ Volatility โดยรวมตลาดเพิ่มขึ้นไปจากเดิม (เช่นเดิม แกว่งตัววันละ 40 จุด เดือนนี้ เพิ่มเป็นวันละ 60 จุด) Risk/Trade มันจะไม่ Fit พอรับกับ Volatility ของตลาด / คุณก็จะโดนแกว่งไป กวาดมา โดนออกก่อนบ่อยๆ เป็นธรรมดา ทั้งที่บางทีหลายหนถูกทางถ้าปล่อยรันยาวๆไป แต่ Risk/Volatility คุณรับไม่ไหว และสุดท้ายก็มักจะเกิดอาการ Long ปุ้บร่วงปั้บ จนต้องคัท คัทปุ้บ เด้งต่อในทางเดิมนั่นแหละ (ตรงนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะทฤษฏีเดิมๆในการเทรด คนรู้กันทั้งโลกแล้ว ก็มักจะเกิด Stop Hunt เป็นธรรมดา . ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ผู้เล่นในตลาดมีจำนวนมากขึ้น . ส่วนหนึ่งเป็นเพราะในบริเวณบางราคา เป็นที่รู้กันว่ามี Position สะสมมาก)
.
-6. คุณใกล้ตลาดไป ... ทั้งที่จริงๆ หลายๆครั้งวางแผนการเทรด ไว้ดีแล้วนั่นแหละ แต่เพราะความใกล้ตลาด พอเวลามาถึง ก็มักจะลืม และพลาดผิดแผนตัวเอง ... ความใกล้ตลาดมักเป็นดาบสองคม ส่วนดีช่วยให้เราได้อยู่กับ ความเคลื่อนไหวของตลาดได้ดี แต่ส่วนเสียคือ มันจะดูดเราเข้าไป ถ้าเราใกล้มากไป ยิ่งใกล้ ยิ่งทำให้เราอ่อนไหวไปกับความเคลื่อนไหวระยะสั้นของตลาดได้มาก / ยิ่งใกล้มากยิ่งอ่อนไหว บางคนจะเป็นหนักขนาดว่า มีสภาวะอารมณ์แปรปรวนไปตามตลาดเลย ช่วงไหนตลาดวิ่งได้ดี ถูกทาง ก็จะอารมณ์ดีไปด้วย ซึ่งช่วงไหนไม่ดี ก็มักจะตรงกันข้าม และเพราะความใกล้นี่เอง ทำให้หลายๆครั้ง View ระยะใกล้มันบดบัง View ระยะไกล จนทำให้การตัดสินใจในการเทรด แปรปรวนไปตาม View ระยะสั้นแทน / ซึ่งตรงนี้ จะแก้ไขยาก / คนที่อยู่กับการเทรดในภาพระยะสั้น ก็จะทำรอบกำไรเล็กๆ ได้บ่อยๆ อาศัยการทบต้นถี่ๆ แต่อาจจะมีโอกาศพลาดตกรถ ถ้ารอบการวิ่งยาวๆมา / คนที่อยู่กับการเทรดระยะยาวหน่อยก็จะพลาดการทำกำไรรอบสั้นๆบ่อยๆ แต่ Trend ระยะยาวมาก็จะเกาะไปกับมันได้ดี / คนที่จะจับได้ทั้งสั้นและยาวได้ดี อาจจะต้องมีพอร์ตทั้งสองส่วนแยกกัน และวางแผนแต่ต้น เช่น ในระหว่างรอบการเทรด Long ยาวๆ บนสินค้าตัวหนึ่ง อาจจะใช้อีกพอร์ตทำกำไรจาก Short ระยะสั้นเก็บสะสมไปด้วย เป็นต้น
.